ว่าที่คุณแม่มือใหม่ เสี่ยงติด COVID-19 หรือเปล่านะ
Q : คุณแม่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ COVID-19 มากหรือน้อยแค่ไหน?
A : จากข้อมูลในปัจจุบัน พบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ได้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ COVID-19 มากไปกว่าคนอื่นๆ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
A : • ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง แต่ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ควรเว้นระยะห่างกับผู้อื่นประมาณ 2 เมตร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านละอองฝอย
• หมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือสบู่ให้สะอาด
• สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ เมื่อออกไปนอกบ้านหรือที่สาธารณะ
• หากไอหรือจาม ควรใช้ผ้าหรือกระดาษชำระปิดปากและจมูกทุกครั้ง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
A : สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
• มีประวัติการเดินทาง/อยู่อาศัย หรือมีผู้ร่วมอาศัยเดินทางไป-กลับในพื้นที่แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
• ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาจากพื้นที่เสี่ยง
และจะมีความเสี่ยงมากขึ้น หากมีการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อในระยะ 1 เมตร หรือถูกไอ จาม จากผู้ป่วย หรืออยู่ในบริเวณปิดที่อากาศไม่ถ่ายเทร่วมกับผู้ป่วย โดยไม่มีการป้องกัน เช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัย ดังนั้น หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางให้เจ้าหน้าที่ทราบ ไม่ปกปิดข้อมูล
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : คุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปตรวจหาเชื้อโรค COVID-19 หรือไม่?
A : • ในกรณีที่คุณแม่มีไข้ ไอ หายใจติดขัด เจ็บคอ รวมถึงมีน้ำมูก ควรรีบไปพบแพทย์ หากมีอาการต้องสงสัย จะได้รักษาทันท่วงที
• หากคุณแม่ไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น อาจต้องพิจารณาว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ หากเคย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสเช่นกัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : อาการที่พบบ่อยของโรค COVID-19 เป็นอย่างไร?
A : ลักษณะอาการของผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 มักจะมีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย และมีเสมหะ หรือในรายที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะหายใจลำบาก ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ แต่ส่วนใหญ่ 80% ของผู้ที่ติดเชื้อ มักจะมีอาการไม่รุนแรง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : หากคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อ จะมีผลต่อลูกน้อยหรือไม่?
A : ปัจจุบันยังไม่พบทารกติดเชื้อไวรัส COVID-19 รวมถึงยังไม่พบเชื้อไวรัส COVID-19 ในน้ำคร่ำ รก และน้ำนม
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : แล้วขณะฝากครรภ์ คุณแม่ต้องทำอะไรบ้าง?
A : แพทย์จะให้การดูแลเช่นเดียวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป หากติดเชื้อ คุณแม่จะต้องแยกกักตัวอย่างน้อย 14 วัน หรือจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อไวรัสCOVID-19แล้วถ้าอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เจ้าตัวน้อยกำลังจะออกมาลืมตาดูโลก แต่เชื้อไวรัส COVID-19 กลับยังไม่หายไป ก็อาจจะสร้างความกังวลใจให้กับว่าที่คุณแม่มือใหม่มากขึ้นกว่าเดิมได้ ทางที่ดีคุณแม่อาจจะต้องป้องกันทั้งตัวคุณแม่และทารกน้อยในช่วงหลังคลอดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : ในกรณีหลังคลอด คุณแม่มือใหม่สามารถกอด อุ้ม หรือให้นมลูกน้อยได้หรือไม่?
A : ในช่วงหลังคลอดจะมีการแยกตัวทารกแรกเกิดออกไปเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 ก่อน หากไม่พบเชื้อในตัวทารก คุณแม่ก็จะสามารถกอด อุ้ม และให้นมลูกน้อยได้ แต่คุณแม่จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้
• สวมหน้ากากอนามัย ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอหรือจาม
• ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลให้สะอาดก่อนและหลังจับตัวลูกน้อย
• เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวหรือวัตถุที่สัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างส่ำเสมอ เช่น บริเวณห้องนอน โดยเฉพาะลูกบิดประตู สวิตช์ไฟฟ้า โซฟา และโต๊ะต่างๆ
• เปิดหน้าต่างที่พักอาศัย เพื่อให้อากาศถ่ายเทและมีแสงแดดส่องอย่างทั่วถึง
• หากมีสมาชิกในบ้านกลับมาจากข้างนอก ควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนสัมผัสตัวลูกน้อยทุกครั้ง
• ควรหลีกเลี่ยงการไอหรือจาม ขณะป้อนนม
• หรือใช้วิธีปั๊มนมบรรจุใส่ภาชนะสะอาดเพื่อเลี่ยงการสัมผัสร่างกายกันโดยตรง
การสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเอง คือ เกราะป้องกันที่ดีที่สุด ที่ช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยห่างไกลจากเชื้อโรคร้าย ที่สำคัญคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ตนเองเครียดมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ภูมิต้านทานลดลง และร่างกายอ่อนแอได้
สนับสนุนข้อมูลโดย
1. นพ.นพดล จันทรเทพเทวัญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์ครอบครัว
2. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย